วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ฝ้า กระ จุดด่างดำ (Moles, Freckles and Dark Spot)


               ฝ้า  (Moles) คือ ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นสีดำอมน้ำตาล เกิดขึ้นบนใบหน้าบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก คาง และเหนือคิ้วทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีที่ผลิตเม็ดสี (Melanin) ออกสู่ผิวหนังไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่มีเม็ดสีมากจึงมีสีผิวเข้มกว่าปกติ ที่เรียกว่า ฝ้า โดยจะทวีความเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการดูแลปกป้องที่ดีพอ 

ฝ้ามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
  •  ฝ้าชนิดลึก  จะอยู่ในชั้นหนังแท้  มีลักษณะเป็นสีม่วงๆ อมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัด รักษาได้ยากกว่าฝ้าชนิดตื้น  และไม่ค่อยหายขาด การใช้ยาทาฝ้าอ่อนๆ และครีมกันแดด  เพียงแต่ช่วยให้ดีขึ้นเท่านั้น
  •  ฝ้าชนิดตื้น  จะอยู่ในชั้นหนังกำพร้า  มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล  ขอบเขตชัดเจน เกิดขึ้นง่าย และสามารถรักษาให้หายได้เร็ว นอกจากนี้ ฝ้าชนิดนี้ยังรักษาได้โดยการใช้ยาทาฝ้าอ่อนๆ และครีมกันแดดก็สามารถลบเลือนให้หายได้  และนอกจากนี้  ฝ้าที่เกิดบริเวณชั้นหนังกำพร้ายังมีความเข้มของสีผิวที่น้อยกว่าฝ้าที่เกิดจากชั้นหนังแท้

               กระ (Freckles)   มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้มที่กระจายอยู่ทั่วใบหน้า  ซึ่งบางครั้งอาจทำให้สับสนกับ ขี้แมลงวัน   ซึ่งขี้แมลงวันจะมีลักษณะสีดำเข้ม กลม ขอบเขตชัดเจน และอาจจะนูนขึ้นเล็กน้อย  และนอกจากนี้  สีของขี้แมลงวันจะไม่เข้มขึ้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด  แต่กระจะเข้ม  และเพิ่มจำนวนขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด  โดยกระมีที่มาจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีที่มากเกินไป และต่างจากฝ้าตรงที่กระจะเกิดขึ้นกับผิวหนังชั้นบน  หรือชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น  และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้  ซึ่งมักพบในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ 

               จุดด่างดำ (Hyperpigmentation)  มีลักษณะจุดสีน้ำตาล ดำ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ถือเป็นสัญญาณแห่งความเสื่อมของผิว 

สาเหตุแห่งการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ (Moles, Freckles and Dark Spot)
ฝ้า กระ จุดด่างดำเกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นดังต่อไปนี้
  •  แสงแดด  รังสียูวีเอ, ยูวีบี และพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์นั้น  เป็นตัวแปรสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความยาวของคลื่นรังสี 400 700 nm. จะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ให้มีปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้ผิวดำคล้ำ เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ตลอดจนผิวไหม้เกรียมแดด
  • ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  จะมีผลทำให้กระบวนการสร้างเม็ดสีผิวทำงานผิดปกติ โดยจะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์, ระหว่างการใช้ยาคุมกำเนิด, ในช่วงวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
  • ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรคไอเอ็นเอช (INH), ยากันชักไดแลนติน (Di-lantin) และยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์  สามารถทำให้เกิดผื่นดำคล้ายฝ้าได้
  •  ส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม, สี และสารกันเสียบางชนิด สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ และรอยคล้ำแบบฝ้าได้
  • พันธุกรรม  จากรายงานการตรวจสอบประวัติผู้เป็นฝ้าและกระโดยละเอียด    มักพบว่า โดยส่วนใหญ่จะมีประวัติคนในตระกูลเคยเป็นฝ้าและกระมาก่อน
  • ภาวะทุพโภชนาการ  การขาดสารอาหารจำพวก วิตามิน และแร่ธาตุจำเป็นบางชนิด อาทิ วิตามินเอ, บี2, บี3, บี12, ซี, ดี หรือ อี  ก็ทำให้เกิดผื่นดำแบบฝ้าได้เช่นเดียวกัน
การป้องกันและการรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ
  • ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด รังสียูวี และคลื่นพลังงานความร้อนต่างๆ  โดยการกางร่ม, สวมหมวก, คลุมผ้า เป็นต้น
  • ปกป้องผิวจากแสงแดด โดยการทาครีมกันแดดที่มี SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป แต่ต้องจำไว้เสมอว่า ไม่มีสารกันแดดชนิดใดที่มีคุณภาพเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังไงก็ต้องหลีกเลี่ยงแสงแดดอยู่เสมอ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่องใส  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  รับประทานอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ  ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
  • การใช้ยา จำพวกกรดวิตามินเอ, กรดเอเซลาอิก, กรดโคจิค, อาร์บูติน, ลิโคริช, ว่านหางจระเข้, สารเฟดเอาท์, วิตามินซี, สารสกัดจากเปลือกสน และกรดทรานซามิก ช่วยทำให้สีของฝ้า กระ และจุดด่างดำจางลงได้ เพราะสารดังกล่าวจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเซลล์เมลาโนไซด์ ซึ่งการรักษาจะต้องทายาทุกวันจนสีผิวเรียบเสมอกัน  หลังจากนั้นจะต้องค่อยๆ หยุดยา  เพราะถ้าหยุดยากระทันหัน  อาจจะกลับมาเป็นฝ้า กระ หรือจุดด่างดำได้อีกครั้งหนึ่ง  และควรจะต้องทาครีมกันแดดร่วมด้วย
  • การลอกหน้าด้วยสารเคมี  เช่น กรดไตรคลออะซิติก, กรดไกลโคลิก และน้ำยาเจสเนอร์ ช่วยเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิว  ซึ่งจะต้องทำซ้ำทุก 1 2 สัปดาห์ เพื่อทำให้ฝ้า กระ จุดด่างดำจางเร็วขึ้น
  •  แสงเลเซอร์ สามารถช่วยลอกผิวชั้นนอกออกได้ ซึ่งมีผลให้ฝ้า กระ จุดด่างดำแลดูจางลงได้ แต่ต้องระวัง เพราะอาจก่อผลข้างเคียงได้  คือรอยแผลเป็น หรือรอยคล้ำ  ซึ่งจะยิ่งดำมากกว่าก่อนการรักษา  

แอดเราเป็นเพื่อน เพื่อติดตามผ่านช่องทางอื่นๆได้ที่นี่เลยค่ะ
   LINE ID : @chlitina-th


สาระความรู้และความงามน่าสนใจแบบนี้  แชร์แบ่งปันให้เพื่อนรู้บ้างสิ แชร์เลย!!!
Share: Line

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น